จังหวัดมหาสารคาม
ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(สะดืออีสาน)

อาณาเขต
- ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดกาฬสินธุ์
- ทิศใต้ ติดกับจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดบุรีรัมย์
- ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดร้อยเอ็ด
- ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดบุรีรัมย์
เส้นทางคมนาคม
ทางรถยนต์
มีทางหลวงแผ่นดินผ่านพื้นที่จำนวน 5 สาย ได้แก่
- ทางหลวงหมายเลข 23 : บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธร-อุบลราชธานี
- ทางหลวงหมายเลข 208 : มหาสารคาม-โกสุมพิสัย-ท่าพระเชื่อมโยงกับถนน มิตรภาพจังหวัดขอนแก่น
- ทางหลวงหมายเลข 213 : มหาสารคาม-กันทรวิชัย-กาฬสินธุ์
- ทางหลวงหมายเลข 219 : บรบือ - นาเชือก - พยัคภูมิพิสัย - บุรีรัมย์
- ทางหลวงหมายเลข 2040 : อําเภอเมืองมหาสารคาม - อําเภอวาปีปทุม
ทางรถทัวร์
บขส.,นครชัยแอร์,รุ่งประเสริฐทัวร์,ชาญทัวร์
ทางเครื่องบิน
มี 2 สายการบินให้บริการ กรุงเทพ(ดอนเมือง)-มหาสารคาม(ลงเครื่องที่
สนามบินขอนแก่นหรือ
สนามบินร้อยเอ็ด)
สถานที่ท่องเที่ยวมหาสารคาม
แหล่งท่องเที่ยวทางประเพณีและวัฒนธรรม มีดังนี้
พระธาตุนาดูน
1.พุทธมณฑลอีสาน
พระบรมธาตุนาดูนตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน เป็นเขตที่มีการขุดพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต
พราะบริเวณนี้ได้เคยเป็นที่ตั้งของนครจำปาศรีมาก่อน
พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี
ตั้งอยู่ที่บ้านนาดูน เขตอำเภอนาดูน อยู่ทางด้านทิศใต้ของ
พระบรมธาตุนาดูนจัดแสดงประวัติการค้นพบและความเป็นมาของพระธาตุนาดูน จำลองสถูปสำริดพระบรมสารีริกธาตุ พระพิมพ์นาดูน แผนผังบริเวณพระบรมธาตุนาดูน พุทธมณฑลอีสาน
พิพิธภัณฑ์ มมส.(MSU Museum)
โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนพ.ศ.2542 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อสื่อสารถึงอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม รวมทั้งเป็นศูนย์กลางแห่งการพัฒนาองค์ความรู้ด้าน
พิพิธภัณฑ์เพื่อส่งเสริมให้สังคมได้รับผลประโยชน์จากกิจการพิพิธภัณฑ์
งานนมัสการพระธาตุนาดูน
อําเภอนาดูนเป็นงานประจำปี ซึ้งจัดขึ้นในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี เพื่อเป็นการนมัสการองค์พระธาตุ ในงานมีขบวนแห่งประเพณี 12 เดือน การแสดงตำนานนครจำปาศรี
งานบุญเบิกฟ้า
จัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ถือเป็นประเพณีประจำปีของชาวมหาสารคาม และเป็นเอกลัษณ์ของจังหวัด ซึ่งมีแนวความคิดที่ฟื้นฟูเกี่ยวกับการทำนา
เพื่อให้คนทั้งหลายได้ตนักถึงความสำคัญของชาวนา และการบำรุงดิน อันเป็นหัวใจสำคัญของการผลติข้าว กำหนดจัดงาน 10 วัน 10 คืน
งานประเพณีบุญบั้งไฟ
จัดขึ้นในเดือน 6 ของทุกปี ที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่
งานออนซอนกลางยาว
เป็นงานประจำปีของชาวอำเภอวาปีปทุม ซึ่งเกือบทุกหมู่บ้านมีคณะกองยาว และมีการผลิตกลองยาวเสียงดี ไว้สำหรับประกวดกลองยาวชิงชนะเลิศระดับประเทศ
ซึ่งจะจัดหลังวันมาฆบูชาประมาณ 1 เดือน หรือประมาณกลางเดือนมีนาคมของทุกปี
งานประเพณีแข่งเรือยาว ลอยกระทง ล่องเรือไฟ
เป็นงานประเพณีชาวพุทธที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมากระทั่งปัจจุบัน จะจัดขึ้นในวันออกพรรษา สถานที่จัดบริเวณบึงบอน ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย
งานบุญพาข้าวลิง
หรือเลี้ยงอาหารลิง เป็นงานประจำปีของชาวอำเภอโกสุมพิสัย ยึดเอาวันที่ 2 เมษายน ของทุกปีเป็นวันจัดงาน เพื่อหารายได้สมทบเป็นกองทุนจัดซื้ออาหารไว้เลี้ยงลิงตลอดทั้งปี
ซึ้งเป็นการแสดงออกในการทำบุญให้ทานแก่สัตว์
แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
วนอุทยานโกสัมพี
ตั้งอยู่บ้านหัวขวาง อ.โกสุมพิสัย มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณและมีฝูงลิงแสมขนสีทองอาศัยอยู่นับพันตัว
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน
ตัังอยู่ ต.นาเชือก อ.นาเชือก ภายในเป็นป่าพรุน้ำจืดหรือป่าทามผสมป่าบกทำให้มีความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตวป่าเป็นที่อยู่อาศัยอของปูทูลกระหม่อม หรือปูแป้ง ซึ้งเป็น
ปูที่หายากและพบเพียงแห่งเดียวที่ป่าดูนลำพันเท่านั้น
หาดเจ้าสําราญ
อยู่ที่บ้านวังยาว ต.เกิ้ง อ.เมืองมหาสารคาม เป็นหาดที่มีลักษณะส่วนโค้งไปตามลำน้ำซี ระยะทางประมาณ 800 เมตร ในฤดูแล้งน้ำจะลดลงสามารถมองเป็นหาดทรายได้สวยงาม
อุทยานวังมัจฉา
ตั้งอยู่บ้านโขงกุดหวาย ต.เกิ้ง อ.เมืองมหาสารคาม มีพื้นที่เป็นเกาะล้อมรอบด้วยน้ำ เป็นแหล่งปลาชุกชุม บนเกาะมีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดเหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนและชมธรรมชาติ